วันพุธที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2557

My Silde




ชิ้นงาน : My slide 
จัดทำโดย : 
ชื่อ : นาย วิศวชิต แสวงผล ชั้น : ม.6/4 เลขที่ : 4

วันพุธที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2557

พระเภทของระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ


1.ความหมายของพระเภทของระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจทั้ง 2 ประเภท
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System)
                ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System) เป็นระบบย่อยหนึ่งในระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ โดยที่ระบบสนับสนุนการตัดสินใจจะช่วยผู้บริหารในเรื่องการตัดสินใจในเหตุการณ์หรือกิจกรรมทางธุรกิจที่ไม่มีโครงสร้างแน่นอน หรือกึ่งโครงสร้าง ระบบสนับสนุนการตัดสินใจอาจจะใช้กับบุคคลเดียวหรือช่วยสนับสนุนการตัดสินใจเป็นกลุ่ม นอกจากนั้น ยังมีระบบสนับสนุนผู้บริหารเพื่อช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์
                ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ได้เริ่มขึ้นในช่วง ปี ค.ศ. 1970 โดยมีหลายบริษัทเริ่มที่จะพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อที่จะช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจปัญหาที่ไม่มีโครงสร้างที่แน่นอน หรือกึ่งโครงสร้างโดยข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลงตลอด ซึ่งระบบสารสนเทศเดิมที่ใช้ในลักษณะระบบการประมวลผลรายการ (Transaction processing system) ไม่สามารถกระทำได้ นอกจากนั้นยังมีวัตถุประสงค์เพื่อลดแรงงาน ต้นทุนที่ต่ำลงและยังช่วยในเรื่องการวิเคราะห์การสร้างตัวแบบ (Model) เพื่ออธิบายปัญหาและตัดสินใจปัญหาต่างๆ จนกระทั่งปี ค.ศ. 1980 ความพยายามในการใช้ระบบนี้เพื่อช่วยในการสนับสนุนการตัดสินใจได้แพร่ออกไป ยังกลุ่มและองค์การต่างๆ


ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ คืออะไร
DSS เป็นซอฟแวร์ที่ช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดการ การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการสร้างตัวแบบที่ซับซ้อน ภายใต้ซอฟต์แวร์เดียวกัน นอกจากนั้น DSS ยังเป็นการประสานการทำงานระหว่างบุคลากรกับเทคโนโลยีทางด้านซอฟต์แวร์ โดยเป็นการกระทำโต้ตอบกัน เพื่อแก้ปัญหาแบบไม่มีโครงสร้าง และอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้ใช้ตั้งแต่เริ่มต้นถึงสิ้นสุดขั้นตอนหรืออาจกล่าวได้ว่า DSS เป็นระบบที่โต้ตอบกันโดยใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อหาคำตอบที่ง่าย สะดวก รวดเร็วจากปัญหาที่ไม่มีโครงสร้างที่แน่นอน ดังนั้นระบบการสนับสนุนการตัดสินใจ จึงประกอบด้วยชุดเครื่องมือ ข้อมูล ตัวแบบ (Model) และทรัพยากรอื่นๆ ที่ผู้ใช้หรือนักวิเคราะห์นำมาใช้ในการประเมินผลและแก้ไขปัญหา ดังนั้นหลักการของ DSS จึงเป็นการให้เครื่องมือที่จำเป็นแก่ผู้บริหาร ในการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีรูปแบบที่ซับซ้อน แต่มีวิธีการปฏิบัติที่ยืดหยุ่น DSS จึงถูกออกแบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ไม่เพียงแต่การตอบสนองในเรื่องความต้องการของข้อมูลเท่านั้น
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
การพัฒนาของเทคโนโลยีสารสนเทศและการขยายตัวขององค์การธุรกิจช่วงทศวรรษ 1970 ทำให้หลายหน่วยงานในสหรัฐอเมริกา ได้เริ่มพัฒนาระบบสารสนเทศที่มีขนาดและเทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อใช้ในการรวบรวมข้อมูลและแบบจำลองในการตัดสินใจต่างๆ ตลอดจนพัฒนาให้ระบบสามารถสื่อสารตอบโต้อย่างฉับพลันกับผู้ใช้ เพื่อช่วยในการตัดสินใจในปัญหาแบบกึ่งโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง โดยที่แนวความคิดนี้ได้เป็นรากฐานของการพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems) หรือที่นิยมเรียกว่า DSS ในปัจจุบัน
ตั้งแต่เริ่มการพัฒนา DSS มีนักวิชาการหลายท่านได้อธิบายความหมาย DSS เช่น
                                Gerrity (1971) ได้ให้ความหมายไว้ว่า DSS คือ การผสมผสานอย่างเหมาะสมระหว่างความมีเหตุผลของมนุษย์กับเทคโนโลยีสารสนเทศและชุดคำสั่งที่นำมาใช้โต้ตอบ เพื่อแก้ปัญหาที่มีความซับซ้อน ความหมายนี้จะอธิบายภาพรวมเชิงปรัชญา ซึ่งครอบคลุมลักษณะพื้นฐานของ DSS แต่ยังไม่สามารถให้คำอธิบายลักษณะของปัญหาที่จะต้องแก้ไขโดยอาศัย DSS เข้าช่วย หรือให้ภาพที่ชัดเจนของ DSS
                                Kroenke และ Hatch (1994) ได้นำความหมายเดิมมาปรับปรุงและเสนอว่า DSS คือ ระบบโต้ตอบฉับพลันที่สนับสนุนโดยคอมพิวเตอร์ซึ่งนำมาช่วยอำนวยความสะดวกในการตัดสินปัญหาแบบไม่มีโครงสร้าง  ในความหมายนี้ได้มีนักวิชาการหลายท่านวิจารณ์ว่า DSS สมควรที่จะช่วยผู้บริหารในการตัดสินปัญหาทั้งแบบกึ่งโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง ไม่เพียงเฉพาะปัญหาแบบใดแบบหนึ่งเท่านั้น
                                 Laudon และ Laudon (1994) อธิบายว่า DSS คือ ระบบคอมพิวเตอร์ที่นำมาใช้ในระดับบริหารของแต่ละองค์การ โดยระบบจะประกอบด้วยข้อมูลและแบบจำลองในการตัดสินใจที่ซับซ้อน เพื่อนำมาสนับสนุนการตัดสินปัญหาแบบกึ่งโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง
                                ดังนั้นสรุปความหมายของ DSS ได้ว่า คือ ระบบสารสนเทศที่สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้โดยที่ระบบนี้จะรวบรวมข้อมูล และแบบจำลองในการตัดสินใจที่สำคัญ เพื่อช่วยผู้บริหารในการตัดสินปัญหาแบบกึ่งโครงสร้าง และไม่มีโครงสร้าง


ปกติ DSS จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจของผู้บริหารโดย
                1.       ประมวลและเสนอข้อมูลการตัดสินใจแก่ผู้บริหาร เพื่อใช้ทำความเข้าใจและเป็นแนวทางในการตัดสินใจ
                2.     ประเมินทางเลือกที่เหมาะสม ภายใต้ข้อจำกัดของแต่ละสถานการณ์ ซึ่งจะช่วยผู้บริหารในการวิเคราะห์และเปรียบเทียบทางเลือกให้สอดคล้องกับปัญหาหรือสถานการณ์ที่สุด
                ปกติ DSS จะช่วยผู้บริหารทดสอบทางเลือกในการตัดสินใจ โดยตั้งคำถาม ถ้า.....แล้ว....(What….if….)” อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้เทคโนโลยีของ DSS ยังช่วยให้ผู้บริหารมีทางเลือกที่จะตอบสนองต่อปัญหาอย่างหลากหลาย มิต้องถูกจำกัดโดยทางเลือกที่เป็นไปได้เพียงไม่กี่ลักษณะเนื่องจากข้อจำกัดของระยะเวลา หรือเทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูล ประการสำคัญ DSS จะไม่ทำการตัดสินใจแทนผู้บริหาร แต่จะประมวลผลและนำเสนอข้อมูลที่สำคัญต่อการตัดสินใจ ขณะที่ผู้บริหารจะต้องกระทำการตัดสินใจโดยใช้สติปัญญา เหตุผล ประสบการณ์และความคิดสร้างสรรค์ของตนเองเป็นหลัก


การจัดการกับการตัดสินใจ
                เป็นที่ทราบกันดีว่าผู้จัดการในแต่ละองค์การจะต้องทำกิจกรรมต่างๆ อย่างมากมาย เช่น การเข้าประชุม การวางแผนงาน การติดต่อกับลูกค้า จัดงานเลี้ยงเปิดตัวสินค้า แม้กระทั้งในบางครั้งอาจจะต้องเป็นประธานในงานบวชหรืองานแต่งงานของผู้ใต้บังคับบัญชา โดยที่
                Henri Fayol ชาวฝรั่งเศสได้กล่าวถึงหน้าที่หลักในการจัดการ (Management Functions) ไว้ 5 ประการด้วยกัน คือ การวางแผน (Planning) การจัดองค์การ (Organizing) การประสานงาน (Coordinating) การตัดสินใจ (Deciding) และการควบคุม (Controlling) 
-                    การควบคุม
-                    การวางแผน
-                    การจัดองค์การ
-                    การตัดสินใจ
-                    การประสานงาน


หน้าที่ทางการจัดการ
                ในขณะที่ Mintzberg (1971) ได้กล่าวถึงบทบาททางการจัดการ (Manegerial Roles) ว่าเป็นกิจกรรมต่าง ที่ผู้จัดการสมควรจะกระทำขณะปฏิบัติหน้าที่ภายในองค์การ โดยที่กิจกรรมเหล่านี้สามารถถูกจัดออกเป็น 3 กลุ่ม คือ บทบาทระหว่างบุคคล (Interpersonal Roles) บทบาททางสารสนเทศ (Informational Roles) และบทบาททางการตัดสินใจ (Decisional Roles)

ความแตกต่างระหว่างระบบ DSS และระบบสารสนเทศอื่น
          ระบบ DSS เป็นระบบสารสนเทศที่จัดทำให้ฝ่ายบริหาร ผู้เชี่ยวชาญ และนักวิเคราะห์ขององค์การ เพื่อสนับสนุนและอำนวยความสะดวกในการค้นหาข้อมูลและสารสนเทศสำหรับการงานแผนและตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับปัญหาแบบกึ่งโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง แต่ระบบ TPS มีการจัดการข้อมูลสำหรับงานประจำวัน มีกระบวนการใช้ระบบที่สอดคล้องกับขั้นตอนการปฏิบัติงานและกฎเกณฑ์การทำงานที่ชัดเจน และระบบ DSS จะให้สารสนเทศเพื่อควบคุม ตรวจสอบการปฏิบัติงานและสรุปผลการดำเนินงานและช่วยสนับสนุนการตัดสินใจในปัญญาแบบโครงสร้างได้
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจส่วนบุคคล (PDSs)
          เป็นระบบที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจของแต่ละบุคคล และกรองข้อมูลที่เกี่ยวข้อง  ซึ่งผู้ใช้สามรถปรับเปลี่ยนเงื่อนไขต่างได้ด้วยตัวเองเพื่อให้ระบบคำนวณช่วยในการตัดสินใจ
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจส่วนบุคคล (PDSs) เป็นระบบข้อมูลขนาดเล็กที่มีการพัฒนาตามปกติสำหรับผู้จัดการหรือขนาดเล็กจำนวนมากของผู้บริหารสำหรับการตัดสินใจงานที่สำคัญ พวกเขาเป็นรูปแบบเดิมของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหาร พวกเขายังคงเป็นองค์ประกอบที่ใหญ่ที่สุดของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (DSS) การวิจัยและมีการใช้โดยผู้บริหารมากที่สุดในวันนี้ บริษัท บทนี้ที่ PDSs ในประวัติศาสตร์ของการสนับสนุนการตัดสินใจและระบุลักษณะเฉพาะของ PDSs จากนั้นก็อธิบายถึงวิธีการวิวัฒนาการในการพัฒนา PDSs และแสดงให้เห็นแนวคิด PDSs กับสองกรณีศึกษาร่วมสมัย บทนี้จบลงด้วยความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมในปัจจุบันของ PDSs

ระบบสนับสนุนการตัดสินใจกลุ่ม ( Group Decision Support System : GDSS )
          เป็นระบบที่สนับสนุนการตัดสินใจประเภทหนึ่ง โดย GDSS เป็นระบบแบบโต้ตอบที่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจร่วมกันของกลุ่มบุคคล สมาชิกในกลุ่มไม่จำเป็นต้องอยู่ที่เดียวกัน อาจอยู่บริเวณใกล้เคียงกันหรืออยู่ห่างกันออกไป การสื่อสารระหว่างกลุ่มจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ ระบบ GDSSต้องอาศัยเทคโนโลยีด้านการสื่อสารเพื่อเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ของสมาชิก 
          ระบบสนับสนุนการตัดสินใจสามารถจำแนกประเภทตามจำนวนของผู้ใช้ออกเป็น 2 ประเภท
          1. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจส่วนบุคคล
          2. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจกลุ่ม(Group Decision Support System : GDSS) เป็นระบบแบบโต้ตอบที่ใช้
         คอมพิวเตอร์เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจร่วมกันของกลุ่มบุคคล
 ส่วนประกอบของ GDSS
          1. อุปกรณ์ (Hardware) ประกอบด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกในการประชุมที่ได้รับการจัดให้อยู่ในลักษณะที่มีความสอดคล้องระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ และผู้ใช้
          2. ชุดคำสั่ง (Software)เป็นชุดคำสั่งสำหรับกลุ่ม(Groupware) ที่ช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูล สร้างทางเลือก ประเมนทางเลือก ซึ่งอาจประกอบด้วย แบบสอบถามอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Questionnaire) รวมไปถึงซอฟต์แวร์เครือข่ายด้วย
          3. ฐานแบบจำลองของระบบ GDSS (Model base) ประกอบด้วยแบบจำลองเช่นเดียวกับระบบDSS ส่วนบุคคล เช่น แบบจำลองทางการเงิน เป็นต้น
         4. บุคลากร (People) ประกอบด้วยสมาชิกในกลุ่มและผู้สนับสนุนด้านต่างๆ 
ประโยชน์ของ GDSS
          1. ช่วยเตรียมความพร้อมในการประชุม
          2. อำนวยความสะดวกด้านการสื่อสารระหว่างสมาชิกในกลุ่ม
          3. ส่งเสริมและสร้างบรรยากาศในการร่วมมือกันระหว่างสมาชิก
          4. จัดเตรียมข้อมูลและสารสนเทศที่เหมาะสมในการประชุม
          5. ช่วยจัดลำดับความสำคัญของปัญหา
          6. อำนวยความสะดวกในการจัดทำเอกสารประกอบการประชุม
          7. ช่วยประหยัดเวลาในการประชุมและสามารถลดจำนวนครั้งของการประชุมได้


ที่มาของข้อมูล : www.songkhla.go.th/songkhla52/km/km3000006.doc

                           http://www.gotoknow.org/posts/502175

ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง (อังกฤษ: Executive information system: EIS) เป็นประเภทหรือส่วนย่อยจาก ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems) มีจุดประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกและสนับสนุนข้อมูลประกอบการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูง โดยเป็นข้อมูลที่มีองค์ประกอบทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก ที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายทางกลยุทธ์นโยบาย ยุทธวิธี ปัญหาเฉพาะหน้า และการควบคุม
EIS เน้นการแสดงกราฟิกและง่ายต่อการใช้ส่วนติดต่อผู้ใช้ พวกเขามีการรายงานที่แข็งแกร่งและเจาะลึกลงความสามารถในการ โดยทั่วไป EIS เป็น DSS ทั่วทั้งองค์กรที่จะช่วยให้ผู้บริหารระดับบนสุดวิเคราะห์เปรียบเทียบและเน้นแนวโน้มในตัวแปรที่สำคัญเพื่อให้พวกเขาสามารถตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานและระบุโอกาสและปัญหา EIS และข้อมูลเทคโนโลยีคลังสินค้าจะมาบรรจบกันในตลาด
ในปีล่าสุด EIS ระยะได้สูญเสียความนิยมในความโปรดปรานของระบบธุรกิจอัจฉริยะ (พื้นที่ย่อยของการรายงานการวิเคราะห์และแดชบอร์ดดิจิตอล)



ประวัติความเป็นมา

มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่จะเน้นข้อมูลสารสนเทศรอบด้านเพื่อตอบสนองความต้องการผู้บริหารระดับสูง ในการตัดสินใจทางธุรกิจ

มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่จะเน้นข้อมูลสารสนเทศรอบด้านเพื่อตอบสนองความต้องการผู้บริหารระดับสูง ในการตัดสินใจทางธุรกิจ
องค์ประกอบ
องค์ประกอบของ EIS จะมี 4ส่วน ได้แก่
·         Hardware อุปกรณ์
·         Software ชุดคำสั่ง
·         User Interface การตอบสนอง
·         Telecommunication การสื่อสาร

คุณสมบัติของ EIS

             ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการถูกนำมาประยุกต์เพื่อเพิ่มศักยภาพในการดำเนินงานของธุรกิจ แต่ระบบสารสนเทศมิใช่แก้วสารพัดนึกที่รวบรวมข้อมูลทุกประเภทที่ผู้ใช้สามารถนำมาใช้งานได้ตลอดเวลา เนื่องจากข้อจำกัดของเทคโนโลยีและต้นทุนการพัฒนา ดังนั้นการพัฒนาระบบสารสนเทศแต่ละชนิดจะต้องเข้าใจความต้องการของผู้ใช้ เพื่อกำหนดคุณสมบัติของสารสนเทศแต่ละรูปแบบอย่างเหมาะสม เพื่อให้การใช้งานเกิดประโยชน์สูงสุด โดยที่ EIS มีคุณสมบัติที่สำคัญ 5 ประการ ดังต่อไปนี้
1.               สนับสนุนการวางแผนกลยุทธ์ (Strategic Plannig Support ) ผู้บริหารระดับสูงส่วนใหญ่มักจะให้ความสำคัญต่อการวางแผนกลยุทธ์ขององค์การ ดังนั้นผู้พัฒนา EIS สมควรจะมีความรู้ในเรื่องกลยุทธ์ธุรกิจ (Business Strategy ) และปัจจัยสำคัญในการวางแผนกลยุทธ์ (Strategic Factors) เพื่อให้สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการกำหนดแผนทางกลยุทธ์ที่สมบูรณ์
2.               เชื่อมโยงกับสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์การ ( External Environment Focus ) ปกติสิ่งที่ผู้บริหารต้องการจากระบบสารสนเทศคือ การที่จะสามารถเรียกสารสนเทศที่ต้องการและจำเป็นต่อการตัดสินใจออกมาจากฐานข้อมูลขององค์การได้อย่างรวดเร็วโดยเฉพาะข้อมูลและข่าวสารที่เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์การเป็นสิ่งที่ผู้บริหารต้องการประกอบการตัดสินใจ โดยส่วนมาก EIS จะถูกออกแบบให้สามารถเชื่อมโยงกับแหล่งข้อมูลที่มาจากภายนอกองค์การ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่สำคัญที่จำเป็นต่อการตัดสินใจของผู้บริหาร
3.               มีความสามารถในการคำนวณภาพกว้าง (Broad- based Computing Capabilities ) การตัดสินใจของผู้บริหารส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่มีโครงสร้างไม่แน่นอนและขาดความชัดเจน โดยส่วนใหญ่จะมองถึงภาพโดยรวมของระบบแบบกว้างๆ ไม่ลงลึกในรายละเอียด ดังนั้นการคำนวณที่ผู้บริหารต้องการจึงเป็นลักษณะง่าย ๆ ชัดเจน เป็นรูปธรรม และไม่ซับซ้อนมาก เช่น การเรียกข้อมูลกลับดู การใช้กราฟ การใช้แบบจำลองแสดงภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นต้น
4.               ง่ายต่อการเรียนรู้และใช้งาน (Exceptional Ease of Learning and Use ) เนื่องจากผู้บริหารจะมีกิจกรรมที่หลากหลายทั้งภายในและภายนอกองค์การ ผู้บริหารจึงมีเวลาในการตัดสินใจในแต่ละงานน้อยหรือกล่าวได้ว่าเวลาของผู้บริหารมีค่ามาก ดังนั้นการพัฒนา EIS ควรที่จะเลือกรูปแบบการแสดงผล หรือการตอบโต้กับผู้ใช้ในแนวทางที่ง่ายต่อการใช้งานในเวลาที่สั้น เช่น ตารางแสดงผล กราฟ ภาษาที่ง่าย และการตอบโต้ที่รวดเร็ว เป็นต้น
5.               พัฒนาเฉพาะสำหรับผู้บริหาร (Customization ) การตัดสินใจของผู้บริหารส่วนใหญ่จะมีความสัมพันธ์ต่อพนักงานอื่นและต่อการดำเนินธุรกิจขององค์การ ซึ่งเป็นสิ่งที่นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ (System Analyst and Designer ) ต้องคำนึงถึงในการพัฒนา EIS เพื่อให้สามารถพัฒนา EI S ที่มีศักยภาพสูงมีประสิทธิภาพดีเหมาะสมกับการใช้งานและเป็นแบบเฉพาะสำหรับผู้บริหารที่จะเข้าถึงข้อมูลได้ตามต้องการ เช่น ข้อมูลใดที่เป็นที่ต้องการของผู้บริหารอย่างมาก หรือมีการเรียกมาใช้บ่อยควรออกแบบให้มีขั้นตอนการเข้าถึงที่ง่าย สะดวก และรวดเร็ว เช่น โดยการกดปุ่มบนแป้นพิมพ์เพียงไม่กี่ปุ่ม หรือการเคลื่อนที่และการใช้งานเมาส์ท (Mouse )บนจอภาพ หรือการสั่งงานด้วยเสียงพูด ซึ่งต่างจากนระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากรระดับอื่นในองค์การที่ต้องมีขั้นตอนที่ซับซ้อนมากกว่าในการเข้าถึงข้อมูลลักษณะเดียวกัน เป็นต้น
http://www.sirikitdam.egat.com/WEB_MIS/120_122/picture/pic5.jpg

ปัจจุบันมีชุดคำสังสำเร็จรูปสำหรับประมวลข้อมูลและสนับสนุนการตัดสินใจให้ผู้บริหารออกวางจำหน่ายตามท้องตลาดมากขึ้น นอกจากนี้ EIS ได้ถูกสร้างขึ้นเพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์ของการใช้งานที่หลายหลายของผู้บริหาร เช่น การเงิน การตลาด การผลิต การวิเคราะห์สถานการณ์และการวางแผนกลยุทธ์ เป็นต้น รวมทั้งมีความสามารถที่จะเชื่อมต่อกับระบบข้อมูลภายนอกองค์การที่จะสามารถดึงเอาสารสนเทศที่สำคัญ และจำเป็นสำหรับผู้บริหารที่ใช้ในการวิเคราะห์ ทำความเข้าใจ และตัดสินใจในปัญหาได้อย่างสมบูรณ์ขึ้น 


การใช้งาน
·         การผลิต
·         การตลาด
·         ทางบัญชี
อรรถประโยชน์
ข้อดี
·         ง่ายต่อการใช้สำหรับผู้บริหารระดับสูง
·         เหมาะกับผู้บริหารระดับสูงในการควบคุมโดยไม่ต้องมีความรู้ความเข้าใจในคอมพิวเตอร์และสารสนเทศมาก
·         ค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้ในระยะเวลาสั้น
·         ช่วยให้เข้าใจข้อมูลสารเทศที่เกิดขึ้นภายในและภายนอกอย่างชัดเจน
·         สะดวกในการตัดสินใจเรื่องต่างๆในระยะเวาสั้น
·         สามารถติดตามและเรียกดูข้อมูลในการตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อเสีย
·         ยากต่อการประเมินประโยชน์และผลตอบแทนที่องค์กรจะได้รับ
·         ยากต่อการรักษาความทันสมัย(Update)ข้อมูลและระบบสารสนเทศ
·         ปัญหาด้านความปลอดภัยและความลับของข้อมูล
·         มีข้อจำกัดในเรื่องใช้งาน เนื่องจากพัฒนามาเพื่อผู้บริหารระดับสูงเท่านั้น
·         ข้อมูลและการนำเสนอไม่สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริหาร
·         ไม่ได้ถูกพัฒนาเพื่อประมวลผลที่ซับซ้อนและหลากหลาย
·         ซับซ้อนและยากในการจำกัดข้อมูลสารสนเทศ

ที่มาของข้อมูล : http://th.wikipedia.org/wiki
                        http://www.sirikitdam.egat.com/WEB_MIS/120_122/section5.html


2.ความสัมพันธ์และความแตกต่างระหว่าง EIS กับ DSS

ความสัมพันธ์และความแตกต่างระหว่าง EIS กับ DSS

- EIS ย่อมาจาก executive information system แปลว่า ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหาร หมายถึง การนำสารสนเทศหรือข้อมูลต่าง ๆ มาเก็บไว้ในรูปแบบที่ผู้บริหารมักจะต้องการใช้ และสามารถจะเรียกมาดู หรือใช้ได้สะดวก
- DSS คือ ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System :DSS) เป็นซอฟแวร์ที่ช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดการ การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการสร้างตัวแบบที่ซับซ้อน ภายใต้ซอฟต์แวร์เดียวกัน
             EIS ช่วยสนับสนุนให้ผู้บริหารสามารถทำความเข้าใจปัญหาอย่างชัดเจนและสามารถตัดสินใจเลือกแนวทางแก้ไขอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะเหตุการณ์วิกฤตที่มีผลกระทบต่อองค์การในระดับกว้าง เราจะเห็นได้ว่า EIS มีหลักการคล้ายกับ DSS ที่กล่าวถึงในบทที่ผ่านมา ดังนั้นการจำแนก EIS กับ DSS ต้องเข้าใจความแตกต่างระหว่างทั้งสองระบบ ดังต่อไปนี้
1.               EIS ได้รับการออกแบบและพัฒนาขึ้นสำหรับจัดเตรียมสารสนเทศที่เหมาะสมในการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูง ขณะที่ DSS ถูกพัฒนาขึ้น เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจของผู้จัดการระดับกลาง หรือนักวิชาชีพ เช่น วิศวกร นักการตลาด และนักการเงิน เป็นต้น ให้มีประสิทธิภาพขึ้น
2.               EIS ได้รับการออกแบบและพัฒนาให้ง่ายต่อการใช้งาน โดยมีตาราง รูปภาพ แบบจำลอง และระบบสื่อผสมที่อธิบายข้อมูลอย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม ขณะที่ DSS จะให้ข้อมูลการตัดสินใจตามลักษณะของงาน โดยผู้ใช้อาจต้องปรับแต่งข้อมูลที่ตนสนใจให้อยู่ในลักษณะที่เหมาะสมกับการใช้งาน
3.               EIS ได้รับการออกแบบและพัฒนาให้สามารถนำสารสนเทศมาใช้งานโดยตรง ขณะที่ผู้ใช้ DSS อาจต้องนำสารสนเทศมาจัดการให้อยู่ในรูปแบบที่เหมาะสมกับการตัดสินใจ หรือใช้เทคนิคในการประมวลผลข้อมูลบ้าง ดังนั้นผู้ใช้ DSS สมควรต้องมีทักษะด้านคอมพิวเตอร์และสารสนเทศในระดับที่สามารถใช้งานให้จัดการข้อมูลที่ต้องการอย่างมีประสิทธิภาพ
             EIS และ DSS ต่างถูกพัฒนาขึ้น เพื่อจัดการกับข้อมูลให้อยู่ในลักษณะที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจของผู้ใช้ แต่ทั้งสองระบบจะมีความแตกต่างกันในระดับของการใช้งาน การนำเสนอข้อมูล และความยากง่ายในการใช้ โดยที่เราสามารถกล่าวได้ว่า EIS เป็น DSS ที่ถูกพัฒนาขึ้นเป็นพิเศษ เพื่อตอบสนองความต้องการด้านสารสนเทศในการตัดสินใจแก้ปัญหา และการดำเนินงานของผู้บริหารที่ไม่ต้องการข้อมูลที่ละเอียดและมีความถูกต้องสมบูรณ์ แต่สร้างความเข้าใจและให้ภาพรวมของระบบหรือปัญหาที่ผู้บริหารสนใจ โดย EIS อาจได้รับการออกแบบและพัฒนาจากฐานของ DSS เพื่อให้ผู้บริหารสามารถเรียนรู้ ทำความเข้าใจ และใช้งานระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนคณะที่ปรึกษาและผู้ใต้บังคับบัญชาสามารถจัดการข้อมูลที่เกี่ยวข้องใน DSS ถ้าผู้บริหารเกิดความต้องการข้อมูลมากกว่าที่ EIS ถูกพัฒนาขึ้น
ความแตกต่างระหว่าง EIS กับ DSS และ MIS     MIS = เน้นการตัดสินใจแบบมีโครงสร้าง (แนวทาง ตรรก ที่แน่นอน) และใช้ข้อมูลภายในจากระบบ TPS เป็นหลัก จุดมุ่งหมายเพื่อบริหารจัดการ (Supervise) งานของหน่วยปฏิบัติการ ให้บรรลุเป้าหมาย ตามแผนงานที่กำหนดมาโดยผู้บริหารระดับกลาง ภายใต้งบประมาณ เวลาและข้อจำกัดอื่นๆ ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เช่น Production Control, Sales forecasts, financial analysis, และ human resource management เป็นต้น
     
DSS = เน้นการตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้าง (Semi structured decision making) มีการใช้ข้อมูลข่าวสารจากระบบ MIS และข้อมูลจากภายนอกบางส่วนมาช่วยในการปรับปรุง หรือ กำหนดแผนงานที่จะต้องสนองเป้าหมายหลักขององค์กรให้มากที่สุด เช่น ระบบ Data miming เป็นต้น
     
EIS = เน้นการตัดสินใจแบบไร้โครงสร้าง (Unstructured decision making) จุดมุ่งหมายของระบบ EIS คือ ช่วยให้ผู้บริหารมองเห็นแนวทาง ความเป็นไปที่เป็นมา และกำลังจะมีแนวโน้มไปทางใด เพื่อให้สามารถกำหนดนโยบาย เป้าหมาย หลักๆ ขององค์กรให้สามารถธำรงองค์กรไว้ได้ แข่งขันกับคู่แข่งขันได้อย่างดี ตัวอย่างเช่นระบบ วางแผนกลยุทธ์ Strategic planning เป็นต้น จะเป็นมาตรการสิ่งที่ได้จากการตัดสินใจของผู้บริหารชั้นสูงที่ใช้สั่งการไปสู่ผู้บริหารระดับกลาง เพื่อปรับแผนงานและกระทบถึงผู้บริหารระดับต้น เพื่อปฏิบัติตามแผนงาน ใหม่ต่อไป
ความแตกต่างของระบบสารสนเทศ MIS ,DSS และ EIS
     ระบบสารสนเทศ MIS ,DSS และ EIS ทั้ง 3 ระบบนี้ ถือเป็นระบบสารสนเทศที่เป็นตัวช่วยในการตัดสินใจของเหล่าผู้บริหารขององค์กรทั้งสิ้น ซึ่งในแต่ละระบบก็จะมีความสามารถ และการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป ความแตกต่างนั้นยังรวมไปถึงความเหมาะสมของการเลือกใช้งานของผู้บริหารแต่ละระดับอีกด้วย ซึ่งความแตกต่างในแต่ละอย่างสามารถแยกออกมาได้ ดังนี้
1.ความแตกต่างด้านการใช้งาน
                MIS เป็นระบบสารสนเทศแบบรายงานเพื่อการจัดการ เป็นระบบช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับงานที่มีโครงสร้างชัดเจน ทำให้ทราบถึงสถานการณ์ล่วงหน้าว่าจะมีโอกาส หรือปัญหาใดเกิดขึ้นบ้าง เพราะงานเหล่านั้นเป็นงานที่เกิดขึ้นอยู่เป็นประจำ
                DSS เป็นระบบสาระสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ เกี่ยวกับงานหรือแผนที่ไม่มีโครงสร้างและไม่ได้คาดการณ์มาก่อน ซึ่งเป็นงานที่ต้องการความรวดเร็วในการตัดสินใจ
                EIS เป็นระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร เป็นระบบใช้ในการตัดสินใจเกี่ยวกับแผนกลยุทธ์เฉพาะเรื่องที่มีความสำคัญต่อองค์กร
2.ความแตกต่างด้านผู้ใช้งาน
                MIS ผู้ใช้งาน คือ ผู้บริหารทุกระดับในองค์กร
                DSS ผู้ใช้งาน คือ ผู้บริหารตั้งแต่ระดับกลางไปจนถึงระดับสูง
                EIS ผู้ใช้งาน คือ ผู้บริหารระดับสูงเท่านั้น
3.ความแตกต่างด้านการเก็บข้อมูลและประมวลผล
                MIS ดึงข้อมูลจากส่วนกลางที่เป็นฐานข้อมูลเก่าขององค์กรมาวิเคราะห์
                DSS ใช้ตัวแบบ (Model) มาประมวลผลและแก้ปัญหา โดยข้อมูลมาจากทั้งภายในและภายนอก
                EIS ใช้ตัวแบบ (Model) มาประมวลผลเหมือนกับ DSS เพราะเป็นหนึ่งในระบบเดียวกัน
4.ด้านระบบและการแสดงผล
                MIS ระบบจะพิมพ์รายงานออกมาตามกำหนด รูปแบบโดยทั่วไปจึงเป็นเอกสาร
                DSS ระบบเป็นแบบ Online การแสดงผลสามารถทำได้ทันทีทันใดโดยผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ และสามารถปริ้นได้
       TPS เป็นระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับการบันทึกและประมวลข้อมูลที่เกิดจากธุรกรรมหรือการปฏิบัติงานประจำหรืองานขั้นพื้นฐานขององค์การ เช่น การซื้อขายสินค้า เมื่อใดก็ตามที่มีการปฏิบัติงานในลักษณะดังกล่าวข้อมูลที่เกี่ยวข้องจะเกิดขึ้นทันที เช่น ทุกครั้งที่มีการขายสินค้า ข้อมูลที่เกิดขึ้นก็คือ ชื่อลูกค้า ประเภทของลูกค้า จำนวนและราคาของสินค้าที่ขายไป รวมทั้งวิธีการชำระเงินของลูกค้า                                             
       ซึ่งมีความเกี่ยวข้องในการเป็นส่วนสนับสนุนการทำงานของระบบสารสนเทศต่างๆ เช่น MIS ,DSS และ EIS เพราะ TPS มีหน้าที่ในการจัดกลุ่มข้อมูลที่มีลักษณะเหมือนกันไว้ด้วยกัน ช่วยคิดคำนวณ เรียงลำดับ สรุป และจัดเก็บข้อมูลไว้เพื่อให้ระบบสารสนเทศดังกล่าวได้ดึงข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ในการช่วยตัดสินใจของเหล่าผู้บริหาร

ที่มาของข้อมูล : http://www.sirikitdam.egat.com/WEB_MIS/120_122/section6.html